Course Content
Background and Principles of Traditional Thai Pharmacy
จรรยาเภสัช. Pharmacy Ethics หลักเภสัช 4 ประการ. 4 Principles of Traditional Thai Pharmacy
0/4
สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน
0/1
การเก็บยาตามวิธีการของโบราณ
ถ้าหากจะพิจารณาให้ดีแล้ว เห็นว่ามีความสำคัญมาก สำคัญทั้งทางด้านให้ได้ตัวยา มีสรรพคุณดีและทั้งทางด้านการสงวนพันธุ์ของพืชสมุนไพรของตัวยาให้คงไว้อยู่ตลอดไปเก็บยาต่าง ๆ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกาลเวลา วิธีการเก็บยาของแพทย์แผนโบราณมี 4 วิธี คือ การเก็บยาตามฤดู การเก็บยาตามทิศทั้ง 4 การเก็บยาตามวันและเวลา การเก็บยาตามยาม (กาลเวลา)
0/4
ตัวยาประจำธาตุ
ในร่างกายของมนุษย์เราประกอบขึ้นจากธาตุทั้ง 4 ชนิด คือ ธาตุดิน 20 ประการ ธาตุน้ำ 12 ประการ ธาตุลม 6 ประการ ธาตุไฟ 4 ประการ และอากาศธาตุ คือ ช่องว่างในร่างกาย 10 ประการ ธาตุต่างๆเหล่านี้ถือเป็นที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค ฉะนั้น เมื่อธาตุใดธาตุหนึ่งเกิดเจ็บป่วยหรือพิการขึ้นมา ตามคัมภีร์ได้จัดลักษณะตัวยาประจำธาตุและรสยาแก้ตามธาตุไว้ดังนี้
0/3
สรรพคุณเภสัช. Medicinal Properties
สรรพคุณเภสัช คือ การรู้จักสรรพคุณของวัตถุที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหลักสรรพคุณเภสัชนี้เป็นหมวดที่สำคัญยิ่ง ท่านต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะตัวยาแต่ละอย่าง ถ้าไม่รู้สรรพคุณแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์ อะไรเลย ท่านอาจคิดว่าตัวยานั้นมีอยู่มีอยู่มากมายจะจำได้อย่างไร นี่เป็นปัญหาของทุกท่าน มักจะคิดว่าตัวยามีสรรพคุณแก้อะไร ยากที่จะจำให้ได้ จึงขอแนะสิ่งที่ท่านต้องจดจำให้ได้ก่อนคือ “รสยา” ซึ่งรสของตัวยานี้จะแสดงถึงสรรพคุณของตัวนาใช้รักษาโรคการรู้จักว่ายานั้นมีสรรพคุณรักษาโรคอย่างไรสรรพคุณของยาสมุนไพรแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพรนั้นๆ เพราะรสแต่ละรสจะมีสรรพคุณใยการรักษาโรคต่างกัน ซึ่งเภสัชกรต้องศึกษาให้รู้จักรของยาให้ถ่องแท้ แล้วรสยานั้นเองจะแสดงสรรพคุณทันที การจำแนกรสยาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ยารสประธาน แบ่งออกเป็น 3 รส 2. รสของตัวยา แบ่งออกเป็นยา 4 รส , ยา 6 รส , ยา 8 รส และยา 9 รส
0/11
ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ 28 ขนาน
0/1
Protected: Traditional Thai Medicine : Pharmacy
About Lesson

จรรยาเภสัช

                ผู้ที่จะเป็นเภสัชกรนอกจากจะต้องศึกษาถึงหลักเภสัชกรรมแล้ว     ยังจะต้องมีคุณธรรม คือ   ต้องมีจรรยาที่ดีงาม  ซึ่งจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้ประพฤติดี ปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควรและชอบธรรมเป็นทางนำความสุขความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ตน จรรยาเภสัช 4 ประการ มีดังนี้

         2.1 ต้องมีความขยันหมั่นเพียร  หมั่นเอาใจใส่ศึกษาวิชาการแพทย์เพิ่มเติม ให้เหมาะแก่กาลสมัยอยู่เสมอ โดยไม่เกียจคร้าน

         2.2 ต้องพิจาณาหาเหตุผลในการปฏิบัติงานด้วยความสะอาด   ประณีต   ไม่ประมาท   ไม่มักง่าย 

2.3 ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต   และมีเมตตาจิตแก่ผู้ใช้ยา   ไม่โลภเห็นแก่ลาภ    โดยหวังผลกำไรมากเกินควร

         2.4 ต้องละอายต่อบาป    ไม่กล่าวเท็จหรือกล่าวโอ้อวด    ให้ผู้อื่นหลงเชื่อในความรู้         ความสามารถอันเหลวไหลของตน

         2.5 ต้องปรึกษาผู้ชำนาญ    เมื่อเกิดการสงสัยในตัวยาชนิดใด หรือวิธีปรุงยา   โดยไม่ปิดบังความเขลาของตน

ความสำคัญของจรรยาเภสัชนี้   เพื่อให้เภสัชกรระลึกอยู่เสมอว่าการปรุงยา   หรือผสมยา หรือการประดิษฐ์วัตถุใดๆ ขึ้น   เป็นยาสำหรับมนุษย์   ต้องมีความรับผิดชอบต่อชีวิตมนุษย์   จะต้องมีความสะอาด ประณีต รอบคอบ    นึกถึงอยู่เสมอว่าเป็นสิ่งที่บำบัดโรคภัยไข้เจ็บต่อชีวิตมนุษย์   มิใช่เป็นยาทำลายชีวิตมนุษย์  ฉะนั้น   เภสัชกรจึงต้องมีจิตใจบริสุทธิ์ยึดหลักจรรยาเภสัชเปรียบเหมือนศีล 5   เป็นข้อยึดเหนี่ยวหรือเป็นกฎข้อบังคับเตือนใจเตือนสติให้ผู้เป็นเภสัชกร ประพฤติปฏิบัติไปในทางที่ถูกที่ควรเป็นทางนำไปสู่คุณงามความดี    และนำความเจริญก้าวหน้าแห่งวิชาชีพสืบต่อไปชั่วกาลนาน

 

จรรยาเภสัช. Pharmacy ethics

1

ขยัน

Hard-working

 

2

เหตุผล

Reasoning

 

3

ชื่อสัตย์

Honest

 

4

ละอายบาป

Aware of karma

 

5

ปรึกษา

Consults/Takes advice from other experts in the same profession

 
0% Complete
error: Content is protected !!